TH | EN
th

ความเป็นมา


      สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Science, Technology and Innovation Policy Institute) หรือ “STIPI” (อ่านว่าสติ-พาย”) เป็น หน่วยงานระดับคณะของ มจธ. ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดย มติสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ มิถุนายน 2559 เป็น สถาบันแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทยที่มุ่งเน้นการวิจัยเชิงนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สถาบันมีวัตถุประสงค์ในการสร้างองค์ความรู้และผลิตผลงาน วิจัยประยุกต์ที่นําไปปฏิบัติได้จริง (Practical) ส่งเสริมการจัดทำนโยบายที่ตั้งอยู่บนฐานของข้อมูลที่รอบด้าน (Evidence-based) มุ่งพัฒนาและผลิตบุคลากรเพื่อให้เกิดเป็นชุมชนนักวิจัยนโยบาย วทน. ที่มีความสามารถในการวิจัยและเข้าใจในกระบวนการ นโยบาย (โดยเฉพาะการวิเคราะห์และออกแบบนโยบาย และการติดตามและประเมินผลกระทบของนโยบาย) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบนวัตกรรมของประเทศ ให้พร้อมรับมือกับความท้าทายในระดับชาติและระดับ นานาชาติ 

      ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2550-2551 ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ในฐานะที่ปรึกษามหาวิทยาลัย ได้ชักชวนอาจารย์และนักวิจัยภายในและภายนอก มจธ. ริเริ่มคลัสเตอร์การวิจัยนโยบาย (Policy Research) โดยในระยะแรกตั้งเป็นกลุ่มทำงานแบบไม่เป็นทางการชื่อกลุ่ม UIA (University Intelligence Agent) โดยมีนัยว่าเป็นกลุ่มที่ช่วยทำการศึกษานโยบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายที่เกี่ยวกับอนาคตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ โดยในระยะแรกนอกจาก ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร แล้วยังมีผู้บริหารและนักวิชาการ มจธ. ที่สนใจและร่วมคิดในฐานะสมาชิกกลุ่ม UIA หลายท่าน เช่น รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดีในขณะนั้น  รศ.ดร.สมชาย จันทน์ชาวนา รศ.บุษยา บุนนาค ดร.วรรณา เต็มสิริพจน์ ผศ.ดร.ทิพวรรณ ปิ่นวนิชย์กุล คุณศุเรนทร์ ฐปนางกูร  ผศ.ดร.กิติเดช สันติชัยอนันต์ ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผศ.ดร.ศันสนลักษณ์ รัชฎาวงศ์ ผศ.ดร.สันติ  เจริญพรพัฒนา ผศ.ดร.เดี่ยว กุลพิรักษ์ ผศ.ดร.เจริญชัย โขมพัตราภรณ์ ดร.ไพศาล สนธิกร และคุณพิชญา ภาณุภัค ซึ่งต่อมากลุ่มทำงาน UIA ได้มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นและมีการจัดการพบปะพูดคุยกัน ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการอยู่เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งปี 2553 ได้มีการจัดการประชุมกลุ่ม UIA ที่โรงแรมเพนนินซูล่า ถ.เจริญนคร โดยมี ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร และ ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ให้เกียรติ เป็นประธานการประชุมกลุ่มอย่างเป็นทางการและถือเป็น Milestone สำคัญของการทำงานวิจัยนโยบายของ มจธ. และต่อมากลุ่มUIA ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกลุ่ม USX มาจนถึงทุกวันนี้

      อาจถือได้ว่า ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เป็นผู้ที่เริ่มจุดประกายและแนะนำให้ชาว มจธ. รู้จักคำว่า การวิจัยนโยบาย” อย่างจริงจังเป็นท่านแรก และได้กรุณาผลักดันให้นักวิชาการ มจธ. สนใจและริเริ่มมองการวิจัยนโยบายว่ามีความสำคัญทั้งต่ออนาคตของ มจธ. และอนาคตของประเทศ

       การจัดตั้งสถาบัน STIPI นั้นเป็นความริเริ่มร่วมกันของสํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในขณะนั้น โดยทาง สวทน. มุ่งหวังว่าสถาบัน STIPI จะเป็นฐานการวิจัยสำหรับการพัฒนานโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้กับประเทศ ในส่วนด้าน มจธ. นั้น ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยชั้นนำของประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากเกือบ 60 ปี ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นการทำนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ถือได้ว่าเป็นการต่อยอดความเชี่ยวชาญเชิงลึกด้านเทคนิค (Technical Expertise) ไปสู่การสร้างผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศได้ในอีกมิติ โดยผู้บริหารที่ริเริ่มก่อตั้งสถาบันในช่วงแรกได้แก่ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ในฐานะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี และ รศ.ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร รองอธิการบดี มจธ. ในขณะนั้น

      ในช่วง ปีแรก เป็นการวางรากฐานของสถาบัน โดยมีนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญมาประจำที่สถาบัน ได้แก่ Dr. Jeong Hyop Lee ซื่งเคยเป็นผู้อำนวยการ Center for STI Development and Research Fellow, Global Policy Research Center, the Science & Technology Policy Institute (STEPI) ประเทศเกาหลีใต้ ร่วมกับนักวิจัยนโยบายของ มจธ. อีกจำนวนหนึ่ง โดยเริ่มออกแบบและพัฒนาโครงสร้างสถาบัน สรรหาและพัฒนาบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมและทํางานวิจัยนําร่องที่ไปใช้ประโยชน์ได้ทันที โดยมี สวทน. เป็นภาคีความร่วมมือ ซึ่งใสถาบันได้เริ่มดําเนินการ วิจัยและฝึกอบรมบุคลากรโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญภายใน และเครือข่ายผู้เชื่ยวชาญจากในประเทศและต่างประเทศ เพื่อดําเนินงานตามพันธกิจของสถาบันและได้ผลิตงานวิจัยนโยบายที่เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยผ่านโปรแกรมวิจัย จำนวน โปรแกรม ได้แก่

(1) การก้าวพ้นกับดัก รายได้ปานกลางของประเทศด้วยกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่ออนาคต (Middle-income-trap and New Growth Engine) (2) ระบบนวัตกรรมระดับประเทศและภูมิภาค ของประเทศ (National and Regional Innovation Systems) (3) ระบบนวัตกรรมเปิดในอาเซียน (ASEAN Open Innovation System) (4) ระบบนิเวศน์การพัฒนากําลังคนสะเต็ม (STEM* Workforce Ecosystem) และ (5) รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมรายสาขาอุตสาหกรรม (Sectoral Innovation Platform) เช่น สาขาพลังงาน ยานยนต์ ดิจิทัล และอาหาร เป็นต้น